ใครเคย เบื่ออาหารบ้าง....หิวแต่ก็ไม่อยากกินsteemCreated with Sketch.

in #steemit7 years ago

โรคเบื่ออาหาร

ดาวน์โหลด (1).jpg
โรคเบื่ออาหาร หรือ anorexia nervosa แปลตรงๆว่าเป็นภาวะเบื่ออาหารโดยมีสาเหตุมาจากจิตใจ ซึ่งหมายความว่าคุณไม่ได้เบื่ออาหารจริง แต่คุณปฏิเสธความอยากอาหารของตัวเอง

ถ้าคุณเป็นโรคเบื่ออาหาร คุณจะมีความคิดต่อขนาดรูปร่างของตนเองผิดไปจากความเป็นจริง ดังนั้นคุณจึงพยายามควบคุมการกินและอาจออกกำลังกายที่มากเกินไปจนทำให้น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

โรคเบื่ออาหารอาจพบได้ในทุกกลุ่มวัย ซึ่งเคยมีรายงานการพบโรคนี้ในเด็กอายุเพียง 6 ขวบไปจนถึงคนอายุ 70 กว่าปี แต่ที่พบได้บ่อยคือในช่วงวัยรุ่นของผู้หญิง ตัวเลขประมาณการของโรคนี้สำหรับเพศหญิง คือ 7 คนใน 1,000 คน และ 1 คนใน 1,000 สำหรับเพศชาย โดยมักจะเริ่มต้นมีอาการในช่วงอายุ 16-17 ปี

อีกภาวะหนึ่งของการกินที่ผิดปกติ คือ โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา (Bulimia nervosa) ซึ่งเป็นภาวะที่มีลักษณะเป็นวงจรของการกินอาหารจำนวนมากตามมาด้วยความพยายามในการกำจัดอาหารที่กินไปนั้นออกจากร่างกาย ไม่ว่าจะด้วยการทำให้อาเจียนหรือใช้ยาระบายขับถ่ายออก
1387395430.jpg

อาการของโรคเบื่ออาหาร

• กินอาหารปริมาณน้อยมาก หรือควบคุมอาหารบางประเภทอย่างเคร่งครัด เช่น อาหารที่มีไขมัน
• ชั่งน้ำหนักและวัดร่างกายของตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า
• มีความรู้สึกไม่สบายหลังมื้ออาหาร หรือมีการใช้ยาระบายหรือยาขับปัสสาวะ
• สวมใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะโป่งพองเพื่อปกปิดสภาพร่างกายที่ผ่ายผอม

ผู้ที่เป็นโรคเบื่ออาหารจะมีสภาวะจิตใจหมกมุ่นอยู่กับน้ำหนักตัวและรูปร่างของตนเอง ดังอาจพบว่า

• มีภาพในจินตนาการร่างกายตนเองผิดไปจากความเป็นจริง
• ปฏิเสธการที่ตนเองมีน้ำหนักน้อยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับอาหารการกิน
• มีอารมณ์แปรปรวน
• รู้สึกซึมเศร้า
• กังวลกับน้ำหนักตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
• ยังคงลดน้ำหนักตนเองต่อไป ทั้งๆที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแล้ว
• ถ้าคุณเป็นโรคเบื่ออาหาร คุณมักจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐานโดยมีค่าดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) น้อยกว่า 17.5

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบื่ออาหาร

เมื่อเวลาผ่านไป โรคเบื่ออาหารจะทำให้เกิดผลร้ายที่รุนแรงต่อสุขภาพระยะยาว
• จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน (กระดูกจะอ่อนลง) ทำให้กระดูกแตกหักง่าย ยิ่งน้ำหนักตัวคุณลดลงมากเพียงไร ความรุนแรงของภาวะกระดูกพรุนก็จะยิ่งมากขึ้น
• จะมีความเสี่ยงต่อการที่หัวใจถูกทำลาย รวมถึงหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจวาย
• จะมีปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์
• โรคเบื่ออาหารจะทำให้มีปัญหาสุขภาพจิตร่วมด้วย เช่น ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า

ปัจจัยบางประการที่มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคเบื่ออาหาร ตัวอย่างเช่น

• เหตุการณ์ที่ทำให้อารมณ์จิตใจผิดปกติ ว้าวุ่น สับสน เช่น ปัญหาการหย่าร้างหรือสัมพันธภาพในครอบครัว
• ประวัติการมีโรคเบื่ออาหารหรือปัญหาสุขภาพจิตในครอบครัว เช่น โรคซึมเศร้า
• การดำรงชีวิตในแบบสังคมตะวันตก
• การอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสสื่อที่มุ่งเน้นความผอม
• เคยเป็นคนอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากมาก่อน
• ทำงานหรือมีงานอดิเรกที่ต้องการคนที่มีรูปร่างบาง (เช่น วิ่ง กรีฑา เต้นรำ เดินแบบ)

การรักษาโรคเบื่ออาหาร

คุณควรรับการรักษาโรคเบื่ออาหารให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป้าหมายคือการสร้างทัศนคติใหม่ให้ถูกต้องในด้านอาหารและพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ

โดยเฉลี่ยแล้วการรักษาโรคนี้ต้องใช้เวลา 5– 6 ปี นับจากที่ได้รับการวินิจฉัย

การพูดคุยบำบัด (Talking therapies)

การบำบัดด้วยการพูดคุย เช่น การให้คำปรึกษา เป็นรูปแบบการบำบัดที่ใช้อยู่บ่อยๆในการรักษาโรคเบื่ออาหาร ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถรู้ถึงความรู้สึกและความกลัวที่เป็นต้นเหตุให้คุณหยุดกินอาหาร และจะช่วยปรับทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องการกินและรูปร่างของคุณซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพ

Sort:  

Hi! I am a robot. I just upvoted you! I found similar content that readers might be interested in:
https://www.bupa.co.th/th/corporate/health-wellbeing/detail.aspx?tid=62